เอกสารที่ต้องนำมาในการยื่นคำร้องขอทำหนังสือเดินทาง
- บุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป สามารถยื่นคำร้องขอมีหนังสือเดินทางธรรมดา อายุการใช้งาน 5 ปี หรือ 10 ปี โดยต้องมีเอกสารประกอบคำร้อง ดังนี้
- แบบฟอร์มคำร้องขอมีหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ และหนังสือยืนยันความถูกต้องของข้อมูลหนังสือเดินทาง (ดาวน์โหลด) ที่กรอกรายละเอียดครบถ้วนแล้ว
- บัตรประจำตัวประชาชนไทย ตัวจริง
- กรณีบัตรหมดอายุ/ชำรุด/สูญหาย จะต้องทำบัตรประจำตัวประชาชนใบใหม่ก่อน โดยไม่ต้องทำนัดหมายเพิ่มเติม(ดาวน์โหลดแบบฟอร์มขอมีบัตรประชาชน) ท่านจะได้รับบัตรประจำตัวประชาชนใบใหม่ทันที เพื่อนำบัตรใบใหม่ไปใช้เป็นเอกสารประกอบในการทำหนังสือเดินทางต่อไป
- กรณีที่เคยมีบัตรประจำตัวประชาชนแล้ว แต่ไม่สามารถนำบัตรตัวจริงมาแสดงได้ สามารถใช้สำเนาบัตรแทนได้
- กรณีที่ยังไม่เคยมีบัตรประจำตัวประชาชนเลย สถานกงสุลใหญ่ฯ จะพิจารณาออกหนังสือเดินทางฉุกเฉิน อายุการใช้งาน 1 ปี เพื่อให้เดินทางกลับไปทำบัตรประชาชนใบแรกที่ประเทศไทยก่อน จึงจะสามารถยื่นคำร้องขอทำหนังสือเดินทางธรรมดาได้
- หนังสือเดินทางไทย ฉบับปัจจุบัน ตัวจริง
- กรณีหนังสือเดินทางสูญหายหรือถูกขโมย ต้องนำใบแจ้งความหนังสือเดินทางหาย/ถูกขโมย พร้อมสำเนาหนังสือเดินทางที่สูญหายมาแสดง (โปรดดูรายละเอียด ที่นี่)
- บัตรแสดงสิทธิพำนักในเยอรมนี (Aufenthaltstitel) ตัวจริงที่่มีอายุใช้งานอยู่ หรือ บัตรประจำตัวของเยอรมนี (Personalausweis)
- กรณีที่อยู่หลังบัตรไม่เป็นปัจจุบัน ให้นำ Meldebescheinigung มาแสดงด้วย
- กรณีมีสิทธิพำนักถาวร (unbefristet / Niederlassung) แต่บัตรแสดงสิทธิพำนักในเยอรมนีหมดอายุ ให้นำ Fiktionbescheinigung หรือ Meldebescheinigung ที่ออกมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน และ บัตรแสดงสิทธิพำนักในเยอรมนีใบเดิมมาแสดงแทน
- กรณีมีสิทธิพำนักชั่วคราว (befristet) แต่บัตรแสดงสิทธิพำนักในเยอรมนีหมดอายุ ให้นำ Fiktionbescheinigung หรือ เอกสารแสดงสิทธิพำนักจากหน่วยงานเยอรมัน พร้อม Meldebescheinigung ที่ออกมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน มาแสดงแทน
- หากมีการเปลี่ยนชื่อ หรือ นามสกุล (ชื่อหรือนามสกุลในหนังสือเดินทางเล่มเดิมไม่เป็นปัจจุบัน) : กรุณานำสำเนาหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อ-สกุล (ช. 5) หรือ สำเนาทะเบียนบ้านที่มีการบันทึกการเปลี่ยนคำนำหน้า หรือ ชื่อ หรือ นามสกุลใหม่แล้ว มาแสดง
- กรณีบัตรประจำตัวประชาชนยังไม่เปลี่ยนเป็นข้อมูลปัจจุบัน : จะต้องทำบัตรประจำตัวประชาชนใบใหม่ก่อน โดยไม่ต้องทำนัดหมายเพิ่มเติม(ดาวน์โหลดแบบฟอร์มขอมีบัตรประชาชน) กรุณานำสำเนาทะเบียนบันทึกฐานะแห่งครอบครัว (คร.22) และ/หรือ หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อ-สกุล (ช. 5) หรือ สำเนาทะเบียนบ้านที่มีการบันทึกการเปลี่ยนคำนำหน้า หรือ ชื่อ หรือ นามสกุลใหม่แล้ว มาแสดง ท่านจะได้รับบัตรประจำตัวประชาชนใบใหม่ทันที เพื่อนำบัตรใบใหม่ไปใช้เป็นเอกสารประกอบในการทำหนังสือเดินทางต่อไป
-
- หากประสงค์จะรับหนังสือเดินทางทางไปรษณีย์ : ซองกันกระแทกขนาด A5 ติดสแตมป์ 4.25 ยูโร พร้อมจ่าหน้าซองที่อยู่ของผู้รับให้ชัดเจน
- ผู้เยาว์ หรือ บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ สามารถยื่นคำร้องขอมีหนังสือเดินทางธรรมดา อายุการใช้งาน 5 ปีเท่านั้น โดยบิดามารดา หรือผู้มีอำนาจปกครอง จะต้องมาแสดงตนเพื่อยื่นคำร้องและทำหนังสือเดินทางด้วยตนเอง โดยต้องมีเอกสารประกอบคำร้อง ดังนี้
- แบบฟอร์มคำร้องขอมีหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ และหนังสือยืนยันความถูกต้องของข้อมูลหนังสือเดินทาง (ดาวน์โหลด) ที่กรอกรายละเอียดครบถ้วนแล้ว รวมเอกสาร 2 ฉบับในไฟล์เดียวกัน เพื่อให้ดาวน์โหลดแค่ครั้งเดียว
- หากเคยมีหนังสือเดินทางไทยเล่มเดิมอยู่แล้ว : ให้นำหนังสือเดินทางไทยฉบับปัจจุบัน ตัวจริง มาแสดง
- กรณีหนังสือเดินทางสูญหายหรือถูกขโมย ต้องนำใบแจ้งความหนังสือเดินทางหาย/ถูกขโมย พร้อมสำเนาหนังสือเดินทางที่สูญหายมาแสดง (โปรดดูรายละเอียด ที่นี่)
- สำเนาสูติบัตรไทย (ใบแจ้งเกิดของไทย)
- บัตรประจำตัวประชาชนไทย ตัวจริง
- ผู้เยาว์ที่อายุยังไม่ถึง 7 ปี ใช้สำเนาทะเบียนบ้านแทนบัตรประจำตัวประชาชนได้
- ผู้ที่อายุครบ 7 ปีขึ้นไป ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงมาแสดง หากไม่เคยทำบัตรมาก่อน สถานกงสุลใหญ่ฯ จะออกหนังสือเดินทางฉุกเฉิน อายุการใช้งาน 1 ปี เพื่อใช้เดินทางกลับไปทำบัตรประจำตัวประชาชนใบแรกที่ประเทศไทยก่อน ยกเว้น สามารถแสดงทะเบียนบ้าน และ หลักฐานการศึกษาจากโรงเรียนเป็นภาษาอังกฤษ หรือ เป็นภาษาเยอรมันพร้อมคำแปล จึงจะสามารถยื่นคำร้องขอทำหนังสือเดินทางธรรมดา อายุ 5 ปี ได้
- กรณีบัตรประจำตัวประชาชนหมดอายุ/ชำรุด/สูญหาย จะต้องทำบัตรประจำตัวประชาชนใบใหม่ก่อน โดยไม่ต้องทำนัดหมายเพิ่มเติม(ดาวน์โหลดแบบฟอร์มขอมีบัตรประชาชน) ท่านจะได้รับบัตรประจำตัวประชาชนใบใหม่ทันที เพื่อนำบัตรใบใหม่ไปใช้เป็นเอกสารประกอบในการทำหนังสือเดินทางต่อไป
- กรณีที่เคยมีบัตรประจำตัวประชาชนแล้ว แต่ไม่สามารถนำบัตรตัวจริงมาแสดงได้ สามารถใช้สำเนาบัตรแทนได้
- บัตรแสดงสิทธิพำนักในเยอรมนี (Aufenthaltstitel) ตัวจริงที่่มีอายุใช้งานอยู่ หรือ บัตรประจำตัวของเยอรมนี (Personalausweis)
- กรณีที่อยู่หลังบัตรไม่เป็นปัจจุบัน ให้นำ Meldebescheinigung มาแสดงด้วย
- กรณีเด็กอายุน้อย (ไม่สามารถทำ Aufenthaltstitelkarte หรือ Personalausweis ได้) ให้นำ Meldebescheinigung มาแสดง
- กรณีมีสิทธิพำนักถาวร (unbefristet / Niederlassung) แต่บัตรแสดงสิทธิพำนักในเยอรมนีหมดอายุ ให้นำ Fiktionbescheinigung หรือ Meldebescheinigung ที่ออกมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน และ บัตรแสดงสิทธิพำนักในเยอรมนีใบเดิมมาแสดงแทน
- กรณีมีสิทธิพำนักชั่วคราว (befristet) แต่บัตรแสดงสิทธิพำนักในเยอรมนีหมดอายุ ให้นำ Fiktionbescheinigung หรือ เอกสารแสดงสิทธิพำนักจากหน่วยงานเยอรมัน พร้อม Meldebescheinigung ที่ออกมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน มาแสดงแทน
- กรณีบิดาและมารดามีอำนาจปกครองบุตรร่วมกัน : บัตรประจำตัวประชาชนไทยของบิดาและมารดา ตัวจริง กรณีบิดาหรือมารดาไม่ใช่บุคคลสัญชาติไทย ให้ใช้หนังสือเดินทางตัวจริงแทนบัตรประจำตัวประชาชน
- กรณีบิดาหรือมารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว : สำเนาหนังสือรับรองการปกครองบุตร (ปค.14) หรือ บันทึกการหย่าที่ระบุว่ามีอำนาจปกครองบุตร หรือ เอกสารอื่นใดที่ราชการออกให้ซึ่งระบุอำนาจปกครองบุตร และ บัตรประจำตัวประชาชนหรือหนังสือเดินทางของผู้มีอำนาจปกครอง
- กรณีที่บิดาหรือมารดาเสียชีวิต : สำเนามรณบัตร
- กรณีบุคคลอื่นมีอำนาจปกครองผู้เยาว์ : สำเนาคำสั่งศาลหรือเอกสารราชการอื่นใดที่ระบุการมีอำนาจปกครองผู้เยาว์ และ บัตรประจำตัวประชาชนหรือหนังสือเดินทางของผู้มีอำนาจปกครอง
- กรณีเปลี่ยนชื่อ หรือ นามสกุล แต่ชื่อหรือนามสกุลในหนังสือเดินทางเล่มเดิมยังไม่เป็นปัจจุบัน : โปรดนำสำเนาหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อ-สกุล (ช. 5) หรือ สำเนาทะเบียนบ้านที่มีการบันทึกการเปลี่ยนคำนำหน้า หรือ ชื่อ หรือ นามสกุลใหม่ของผู้ยื่นคำร้อง และ/หรือ บิดามารดา มาแสดง (กรณีมารดาเปลี่ยนนามสกุลตามสามีใหม่ ต้องนำสำเนาทะเบียนสมรสมาแสดงด้วย)
- หากประสงค์จะรับหนังสือเดินทางทางไปรษณีย์ : ซองกันกระแทกขนาด A5 ติดสแตมป์ 4.25 ยูโร พร้อมจ่าหน้าซองที่อยู่ของผู้รับให้ชัดเจน
- หมายเหตุ : หากเอกสารข้างต้นเป็นเอกสารราชการเยอรมัน ต้องนำไปรับรองจากหน่วยงานราชการเยอรมันที่เกี่ยวข้อง และแปลเป็นภาษาไทย มาก่อน
-
- กรณีผู้เยาว์อยู่ในความปกครองของหน่วยงานราชการเยอรมัน ต้องดำเนินการเพิ่มเติม ดังนี้
- ต้องมีหนังสือรับรองจากหน่วยงานนั้นๆ ระบุชื่อผู้ปกครองหรือหน่วยงานนั้นๆ พร้อมคำแปลภาษาไทยที่ได้รับการรับรองจากสถานเอกอัครราชทูตไทย หรือสถานกงสุลใหญ่ไทย มาก่อน
- เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการนั้นๆ ต้องแสดงบัตรประจำตัวพนักงานที่ยังมีอายุการใช้งานอยู่ พร้อมยื่นสำเนา 1 ชุด
- หากมีหนังสือแต่งตั้งเจ้าหน้าที่เยอรมันเป็นผู้ปกครองโดยชอบตามกฎหมาย ต้องแปลหนังสือดังกล่าวเป็นภาษาไทย และคำแปลต้องได้รับการรับรองจากสถานเอกอัครราชทูตไทย หรือสถานกงสุลใหญ่ไทย มาก่อน
- ผู้ปกครองโดยชอบตามกฎหมาย (เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการเยอรมัน) ต้องมาลงนามในคำร้องในวันที่มายื่นขอหนังสือเดินทางให้ผู้เยาว์ด้วย
ตัวอย่างการจ่าหน้าซองจดหมาย กรณีขอรับหนังสือเดินทางเล่มใหม่ทางไปรษณีย์