ข้อแนะนำและข้อควรรู้สำหรับผู้ที่เดินทางเข้ามาในเยอรมนีเป็นการชั่วคราว (ไม่เกิน 90 วัน) เพื่อการท่องเที่ยว ติดต่อธุรกิจ หรือปฏิบัติกิจอื่นใด เพื่อให้การเดินทางราบรื่น และมีความสะดวกสบาย

ข้อแนะนำและข้อควรรู้สำหรับผู้ที่เดินทางเข้ามาในเยอรมนีเป็นการชั่วคราว (ไม่เกิน 90 วัน) เพื่อการท่องเที่ยว ติดต่อธุรกิจ หรือปฏิบัติกิจอื่นใด เพื่อให้การเดินทางราบรื่น และมีความสะดวกสบาย

วันที่นำเข้าข้อมูล 26 ม.ค. 2564

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 21,352 view

ข้อแนะนำและข้อควรรู้สำหรับผู้ที่เดินทางเข้ามาในเยอรมนีเป็นการชั่วคราว
(ไม่เกิน 90 วัน) เพื่อการท่องเที่ยว ติดต่อธุรกิจ หรือปฏิบัติกิจอื่นใด
เพื่อให้การเดินทางราบรื่น และมีความสะดวกสบาย


ก่อนการเดินทางเข้ามายังประเทศเยอรมนี

  • โปรดตรวจสอบวันหมดอายุของหนังสือเดินทางของท่าน โดยหนังสือเดินทางธรรมดาที่จะใช้ในการยื่นขอรับการตรวจลงตรา (วีซ่า) จากสถานเอกอัครราชทูตเยอรมนีประจำประเทศไทยหรือสถานเอกอัครราชทูตของประเทศกลุ่มเชงเก้น (Schengen countries) อื่นๆ ประจำประเทศไทย เพื่อใช้เดินทางเข้ามาในเยอรมนี นั้น ควรจะมีอายุใช้งานได้เหลืออยู่อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 6 เดือน
  • การยื่นขอรับการตรวจลงตรา (วีซ่า) เชงเก้น นั้น มีประเด็นสำคัญที่ควรคำนึง สรุปอย่างง่ายได้ดังนี้
              (1)   หากเดินทางเข้าประเทศใดแต่เพียงประเทศเดียว ให้ยื่นขอรับการตรวจลงตราจากสถานเอกอัครราชทูตของประเทศนั้นๆ ประจำประเทศไทย เช่น จะเดินทางมาท่องเที่ยวในเยอรมนีเพียงประเทศเดียว ต้องยื่นขอรับการตรวจลงตราจากสถานเอกอัครราชทูตเยอรมนี
              (2)  หากในแผนการเดินทาง ท่านจะเดินทางเข้าประเทศในเขตเชงเก้นตั้งแต่สองประเทศขึ้นไป ให้ยื่นขอรับการตรวจลงตราจากสถานเอกอัครราชทูตของประเทศที่มีจำนวนวันท่านจะพำนัก (ในห้วงระหว่างการเดินทาง) มากที่สุด เช่น ในทริปเดียวกัน ท่านมีแผนจะอยู่ที่ออสเตรีย 6 วัน ฝรั่งเศส 5 วัน และ เยอรมนี 7 วัน ในกรณีนี้ให้ยื่นขอรับการตรวจลงตราจากสถานเอกอัครราชทูตเยอรมนีประจำประเทศไทย ถึงแม้ว่าประเทศสมาชิกเขตเชงเก้นที่ท่านจะเดินทางเข้าประเทศแรกจะไม่ใช่เยอรมนีก็ตาม หรืออีกตัวอย่าง เดินทางในทริปเดียวกัน อยู่ที่ฝรั่งเศส 5 วัน สวิตเซอร์แลนด์ 6 วัน ออสเตรีย 4 วัน และเยอรมนี 2 วัน  ในกรณนี้ท่านต้องยื่นขอรับการตรวจลงตราจากสถานเอกอัครราชทูตสวิตเซอร์แลนด์ประจำประเทศไทย
              (4)  หากในแผนการเดินทาง มีประเทศที่มีจำนวนวันที่ท่านจะพำนักมากที่สุดเท่ากัน (ตั้งแต่สองประเทศขึ้นไป)
                     (ก) ให้ท่านยื่นขอรับการตรวจลงตราจากประเทศที่มีจำนวนวันที่จะพำนักมากที่สุด ซึ่งเป็นประเทศแรกที่จะเดินทางเข้าเขตเชงเก้น
                     (ข) หากประเทศที่มีจำนวนวันที่จะพำนักมากที่สุดไม่ใช่ประเทศแรกที่จะที่เดินทางเข้าเขตเชงเก้น ให้ยื่นขอรับการตรวจลงตราจากสถานเอกอัครราชทูตประเทศที่มีจำนวนวันที่จะพำนักมากที่สุดประเทศใดก็ได้
  • การขอรับการตรวจลงตราตามที่กล่าวข้างต้น นั้น หากท่านได้รับการตรวจลงตราแล้ว แต่เกิดเปลี่ยนแผนการเดินทาง อาทิ จำนวนวันที่อยู่ในแต่ละประเทศเปลี่ยนไป หรือ ประเทศที่พำนักนานที่สุดในทริปเปลี่ยนไปเป็นอีกประเทศหนึ่ง โปรดพิจารณาติดต่อสถานเอกอัครราชทูตของประเทศที่ให้การตรวจลงตรา (ออกวีซ่า) ให้ท่าน เพื่อสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎระเบียบของการตรวจลงตรา (วีซ่า) ที่ได้รับมาแล้ว   ทั้งนี้ หากท่านเดินทางเข้าเขตเชงเก้นโดยใช้วีซ่าที่ออกโดยไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง  เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองอาจปฏิเสธการเข้าเมืองของท่านได้
  • เมื่อได้รับการตรวจลงตราเรียบร้อยแล้ว โปรดตรวจสอบว่าได้รับการตรวจลงตราถูกต้องตามแผนการเดินทางของท่านหรือไม่ อาทิ ห้วงเวลาที่อนุญาตให้เดินทางเข้าได้ จำนวนครั้งที่อนุญาตให้เดินทางเข้าเขตเชงเก้นได้ หรือ จำนวนวันที่อนุญาตให้พำนักอยู่ในเขตเชงเก้นได้ หรือมีเงื่อนไขอื่นใดที่กำกับเอาไว้ในแผ่นปะการตรวจลงตรา (สติ๊กเกอร์วีซ่า) หรือไม่

ภายหลังจากเดินทางเข้ามายังประเทศเยอรมนีแล้ว

  • หากเป็นไปได้ โปรดถ่ายภาพหรือทำสำเนาหน้าข้อมูลหนังสือเดินทาง หน้าที่มีแผ่นปะตรวจลงตรา หรือหน้าที่มีตราประทับขาเข้าของเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองเก็บเอาไว้ด้วย และส่งไฟล์เก็บไว้ในอีเมล์ หรือใน thumb drive หรือในโปรแกรมไลน์ หรือในโทรศัพท์มือถือของท่าน เพื่อที่จะสามารถเรียกดูได้ในกรณีที่หนังสือเดินทางสูญหาย  ยิ่งมีข้อมูลที่ครบถ้วนมากเพียงใด ยิ่งจะทำให้เจ้าหน้าที่สามารถให้ความช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกให้แก่ท่านได้ดียิ่งขึ้น
  • โปรดเตรียมข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคลทางการแพทย์ติดตัวไว้ในที่ซึ่งหยิบฉวยพร้อมใช้ได้ง่าย อาทิ ข้อมูลเกี่ยวโรคประจำตัว ยาที่ใช้หรือกินอยู่ประจำ การแพ้ยา ฯลฯ และ/หรือ ข้อมูลเกี่ยวกับประกันสุขภาพที่ใช้ในการเดินทางเข้าเขตเชงเก้นไว้ด้วย เนื่องจากอาจมีความจำเป็นในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน
  • เยอรมนีเป็นสังคมนิติรัฐ ชาวเยอรมันนิยมการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ อย่างเคร่งครัด เพื่อให้สังคมมีความเรียบร้อยและมีความสงบสุข  และชาวเยอรมันจะชื่นชมเป็นอย่างยิ่งหากชาวต่างชาติผู้มาเยือนให้ความเคารพต่อกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือธรรมเนียมปฏิบัติ และวัฒนธรรมของเยอรมัน
  • อย่างไรก็ดี ถึงแม้ว่าเยอรมนีจะเป็นสังคมที่มีความสงบและมีความปลอดภัยสูงมากที่สุดแห่งหนึ่ง  ท่านที่เข้าไปในแหล่งชุมชนใหญ่ โดยเฉพาะในย่านที่มีนักท่องเที่ยวหนาแน่น หรือในบริเวณใกล้เคียงกับสถานีระบบขนส่งสาธารณะ ก็ควรที่จะใช้ความระมัดระวังต่อทรัพย์สินของตนเอง
  • สถานกงสุลใหญ่ ณ นครมิวนิก มีเขตกงสุล(พื้นที่รับผิดชอบ) ครอบคลุมสองรัฐสำคัญทางด้านใต้ของเยอรมนี ได้แก่รัฐบาวาเรีย
    (ไบเอิร์น) และรัฐบาเดิน-เวือร์ทเทมแบร์ก

การเช่ารถและการขับขี่รถยนต์ในประเทศเยอรมนี

  • การเช่ารถในเยอรมนี นั้น ในขณะทำสัญญาเช่าก่อนรับรถ บริษัทเช่ารถยนต์จะขอดูใบขับขี่ไทย (ตัวจริง) ด้วย ดังนั้น ต้องนำใบขับขี่ฉบับจริงของไทยติดมาด้วย (แบบสมาร์ทการ์ดจะดีที่สุด)
  • ควรศึกษาเกี่ยวกับกฎจราจรพื้นฐานของประเทศเยอรมนี ให้มีความเข้าใจอย่างดี เนื่องจากมีบางประเด็นที่แตกต่างไปจากกฎจราจรของไทย
  • การเช่ารถทุกครั้งควรตรวจสอบเรื่องความครอบคลุมของประกันภัยว่าขอบเขตความคุ้มครองมีมากน้อยเพียงใด  และหากจะเช่ารถในเยอรมนีเพื่อจะใช้เดินทางไปยังกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกด้วย โปรดแจ้งให้บริษัทเช่ารถยนต์ทราบในตอนทำสัญญาด้วย
  • ตรวจสอบความเรียบร้อยของรถยนต์ที่เช่าในโอกาสแรก อาทิ สี หรือข้อบกพร่องต่างๆ ก่อนจะขับรถออกจากสถานที่เช่ารถยนต์   เพื่อหลีกเลี่ยงการโต้งแย้งในเรื่องความรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถที่เช่า
  • การใช้ทางหลวงระหว่างเมือง (autobahn) ของเยอรมนีไม่มีค่าธรรมเนียม  แต่หากจะขับรถเข้าไปในเขตประเทศออสเตรีย สวิตเซอร์แลนด์ หรือสาธารณรัฐเช็ค จะต้องมีแผ่นปะ (สติ๊กเกอร์) ค่าผ่านทางของประเทศนั้นๆ สามารถหาซื้อได้จากสถานีบริการน้ำมันในพื้นที่ประมาณ 50 กิโลเมตรก่อนข้ามชายแดน
  • หากท่านเดินทางเข้ามาในเยอรมนีและมีแผนจะเล่นกีฬาที่มีความเสี่ยง อาทิ สกี สเก็ต หรือขี่ม้า เป็นต้น โปรดตรวจสอบเงื่อนไขของความคุ้มครองว่ารวมถึงอุบัติเหตุจากกีฬาในฤดูหนาว หรือจากสกีหรือไม่ หากไม่มีท่านอาจพิจารณาจัดซื้อประกันการเล่นกีฬาต่างๆ เหล่านี้เพิ่มเติมได้ (โดยปกติราคาจะไม่แพงมากนัก)

หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินในเยอรมนี