วันที่นำเข้าข้อมูล 22 พ.ย. 2566

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2566

| 592 view

Die musikalischen Kompositionen

Seiner Majestät König Bhumibol Adulyadej der Große

 

„Musik ist in jedem Menschen“

Seine Majestät König Bhumibol Adulyadej der Große

 

          Seine Majestät König Bhumibol Adulyadej der Große (König Rama IX) interessierte sich schon seit seiner Jugend für Musik und begann Blasinstrumente und klassische Musik zu lernen. Später widmete er sich ernsthaft der Jazzmusik. Er spielte sowohl Blasinstrumente wie Saxophon, Klarinette und Trompete aber auch Klavier und Gitarre.

          Mit 19 Jahren komponierte Seine Majestät   „Candlelight Blues“ im Blues-Genre als sein erstes Lied im Jahr 1946. Damals trug er noch den Titel Prinz Bhumibol Adulyadej.  Das Lied wurde aber nicht veröffentlicht, daher glauben viele, dass „Love at Sundown“ oder „Falling Rain“ die 2. und 3. der musikalischen Komposition Seiner Majestät, die vor dem „Candlelight Blues“ veröffentlicht wurden, die ersten Lieder Seiner Majestät sind.

          Seine Majestät komponierte insgesamt 48 Jazzsongs, die meisten davon zusammen mit Co-Komponisten. Das erste Lied, das Seine Majestät in englischer Sprache komponierte (im Jahr 1965), war „Still on my mind“. Das Lied handelt von einer unvergesslichen Liebe, die für immer im Herzen bleibt. Es ist ein Lied, das Seine Majestät für Königin Sirikit geschrieben hat.

          1952 gründete Seine Majestät König Rama IX den Radiosender A.S. Eine Abkürzung für das Wort Amphorn Sathan Thronhalle, in der die Radiostation untergebracht war. Seine Majestät gründete auch seine eigenen Musikbands nämlich: Lai Kram, A.S. Friday Band und die Sahai Pattana Trumpet Band, mit denen er regelmäßig auftrat und die jeden Freitag im A.S. Radiosender ausgestrahlt wurden. Außerdem komponierte er auch den „Friday Night Rag“ für die A.S. Friday Band.

          Seine Majestät König Rama IX hatte ein ausgeprägtes musikalisches Talent und hat mit weltbekannten Jazzmusikern wie Benny Goodman, Jack Teagarden, Leonel Hampton und Stan Getz zusammengespielt. Bei einem Konzert 1956 in Bangkok spielte Benny Goodman zwei Stücke aus den Musikkompositionen Seiner Majestät König Rama IX, nämlich „Love at Sundown“ und „Falling Rain (Benny Goodman, spielt ein Lied von König Bhumibol  Click!)

 

*   *   *   *   *

 

ดนตรีล้วนอยู่ในตัวทุกคน
กระแสพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมราชบพิตร

          พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร หรือในหลวงรัชกาลที่ 9 ของไทยทรงสนพระราชหฤทัยในดนตรีมาตั้งแต่เมื่อครั้งทรงพระเยาว์ ทรงเริ่มศึกษาดนตรีเริ่มจากเครื่องเป่าและดนตรีคลาสสิก ต่อมาได้ทรงศึกษาดนตรีแนวแจ๊สอย่างจริงจัง พระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถทั้งแซ็กโซโฟน คลาริเน็ตและทรัมเป็ต อีกทั้งยังทรงเปียโนและกีตาร์ด้วย  

           “เพลงแสงเทียน”  (Candlelight Blues) ในแนวบลูส์เป็นแพลงแรกที่ทรงพระนิพนธ์เมื่อปี ค.ศ. 2489 (ค.ศ 1946) ขณะที่ทรงมีพระชนมายุเพียง 19 พรรษาและยังทรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช แต่ยังไม่โปรดเกล้าฯ ให้เผยแพร่เพลงดังกล่าวออกสู่สาธารณชน หลายคนจึงมีความเข้าใจว่า “เพลงยามเย็น” (Love at Sundown) หรือ “เพลงสายฝน” (Falling Rain) ซึ่งเป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 2 และ 3 ได้ออกสู่สาธารณชนก่อนหน้า เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับแรก

          เพลงพระราชนิพนธ์ของในหลวงรัชกาลที่ 9 มีทั้งสิ้น 48 เพลง โดยส่วนใหญ่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บุคคลอื่นประพันธ์หรือร่วมประพันธ์คำร้องถวาย แต่เพลงที่พระองค์พระราชนิพนธ์คำร้องภาษาอังกฤษเป็นเพลงแรก (เมื่อปี 2508 /ค.ศ.1965) ได้แก่ “เพลงในดวงใจนิรันดร์” (Still on My Mind) มีใจความถึงความรักที่ลืมมิลงและยังแน้นแฟ้นในดวงใจตลอดไป เพื่อพระราชทานให้สมเด็จพระบรมราชชนนี พันปีหลวง

          ในปี 2495 (ค.ศ 1952) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงตั้งสถานีวิทยุ อ.ส. เป็นอักษรย่อจากคำว่า พระที่นั่งอัมพรสถาน ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของสถานีวิทยุ และทรงจัดตั้งวงดนตรีของพระองค์ด้วย ได้แก่ วงลายคราม วง อ.ส. วันศุกร์ และแตรวงสหายพัฒนา โดยได้ทรงดนตรีร่วมกับวงเพื่อออกอากาศทางสถานีวิทยุ อ.ส. เป็นประจำทุกวันศุกร์ รวมถึงได้ทรงพระนิพนธ์ “เพลงศุกร์สัญลักษณ์” (Friday Night Rag) พระราชทานเป็นเพลงประจำวง อ.ส. วันศุกร์ด้วย

          ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงมีพระอัจฉรียภาพทางดนตรีอย่างเด่นชัด และทรงสามารถบรรเลงดนตรีโต้ตอบกับนักดนตรีแจ๊สที่มีชื่อเสียงระดับโลก เช่น Benny Goodman, Jack Teagarden, Leonel Hampton และ Stan Getz ได้อย่างคล่องแคล่ว ทั้งนี้ Benny Goodman ได้เดินทางมาเล่นดนตรีที่กรุงเทพมหานครเมื่อปี 2499 (ค.ศ.1956) ซึ่งในครั้งนั้น Benny Goodman ได้เล่นเพลงยามเย็นและสายฝนของในหลวงรัชกาลที่ 9 ด้วย (Benny Goodman in Bangkok  Click!)

 

 

Selected songs (Click for more information and listen!)

Botton-01 Botton-02 Botton-03

Botton-04 Botton-05 Botton-06