บริการประชาชน

บริการประชาชน

คำถามที่พบบ่อย

Q

จดทะเบียนรับรองบุตร: ในกรณีที่ชายและหญิงผู้ซึ่งเป็นบิดามารดาของเด็กมิได้จดทะเบียนสมรสกัน แต่บิดามีเพียงชื่อของชายปรากฎอยู่สูติบัตรของเด็กถือว่าเป็นการรับรองบุตรแล้วหรือไม่

จดทะเบียนรับรองบุตร: ในกรณีที่ชายและหญิงผู้ซึ่งเป็นบิดามารดาของเด็กมิได้จดทะเบียนสมรสกัน แต่บิดามีเพียงชื่อของชายปรากฎอยู่สูติบัตรของเด็กถือว่าเป็นการรับรองบุตรแล้วหรือไม่

A

การที่มีชื่อของชายอยู่ในสูติบัตรระบุว่าเป็นบิดานั้น ยังไม่ถือว่าเป็นการรับรองว่าเด็กคนนั้นเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย การที่บิดามารดายังมิได้มีการจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายนั้น เมื่อบุตรเกิดขึ้นมาโดยยังไม่ได้มีการจดทะเบียนสมรส เด็กคนนั้นก็ยังไม่เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของสามีหรือชายผู้นั้นแม้จะมีชื่อปรากฎในสูติบัตรแล้วก็ตาม

การที่มีชื่อของชายอยู่ในสูติบัตรระบุว่าเป็นบิดานั้น ยังไม่ถือว่าเป็นการรับรองว่าเด็กคนนั้นเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย การที่บิดามารดายังมิได้มีการจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายนั้น เมื่อบุตรเกิดขึ้นมาโดยยังไม่ได้มีการจดทะเบียนสมรส เด็กคนนั้นก็ยังไม่เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของสามีหรือชายผู้นั้นแม้จะมีชื่อปรากฎในสูติบัตรแล้วก็ตาม

Q

จดทะเบียนรับรองบุตร: ถ้าดำเนินการจดทะเบียนรับรองบุตรแล้ว หรือ ศาลสั่งให้บิดาสามารถดำเนินการจดทะเบียนรับรองบุตรได้แล้ว มารดาหรือเด็กจะสามารถคัดค้านไม่ให้บิดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองได้หรือไม่

จดทะเบียนรับรองบุตร: ถ้าดำเนินการจดทะเบียนรับรองบุตรแล้ว หรือ ศาลสั่งให้บิดาสามารถดำเนินการจดทะเบียนรับรองบุตรได้แล้ว มารดาหรือเด็กจะสามารถคัดค้านไม่ให้บิดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองได้หรือไม่

A

แม้ว่าศาลจะอนุญาตให้สามารถดำเนินการจดทะเบียนรับรองบุตรได้แล้วนั้น แต่มารดาหรือบุตรยังมีสิทธิที่จะสามารถแจ้งไปยังนายทะเบียนว่าบิดาเป็นผู้ไม่สมควรใช้อำนาจปกครองบุตร ซึ่งหากบิดาต้องการจะมีอำนาจในการปกครองบุตรด้วยนั้น ก็ต้องดำเนินการร้องขอต่อศาลเพื่อให้ศาลท่านพิจารณาว่าจะอนุญาตหรือไม่ โดยสามารถดำเนินการยื่นคำร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตรและขอใช้อำนาจในการปกครองบุตรไปพร้อมกันได้เลย

แม้ว่าศาลจะอนุญาตให้สามารถดำเนินการจดทะเบียนรับรองบุตรได้แล้วนั้น แต่มารดาหรือบุตรยังมีสิทธิที่จะสามารถแจ้งไปยังนายทะเบียนว่าบิดาเป็นผู้ไม่สมควรใช้อำนาจปกครองบุตร ซึ่งหากบิดาต้องการจะมีอำนาจในการปกครองบุตรด้วยนั้น ก็ต้องดำเนินการร้องขอต่อศาลเพื่อให้ศาลท่านพิจารณาว่าจะอนุญาตหรือไม่ โดยสามารถดำเนินการยื่นคำร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตรและขอใช้อำนาจในการปกครองบุตรไปพร้อมกันได้เลย

Q

จดทะเบียนรับรองบุตร: หากบุตรอายุยังน้อยมาก ไม่สามารถให้ความยินยอมได้ จะทำอย่างไร

จดทะเบียนรับรองบุตร: หากบุตรอายุยังน้อยมาก ไม่สามารถให้ความยินยอมได้ จะทำอย่างไร

A

กฎหมายกำหนดว่า การที่บิดาจะจดทะเบียนรับรองบุตรให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายนั้น จะต้องได้รับความยินยอมจากมารดาและตัวเด็ก ในกรณีที่เด็กหรือมารดาไม่ให้ความยินยอมหรือไม่สามารถให้ความยินยอมได้ บิดาก็จะต้องใช้สิทธิทางศาล การที่เจ้าหน้าที่ไม่รับจดทะเบียนเด็กที่มีอายุยังน้อย ยังอ่านเขียนหนังสือไม่ได้นั้น ถือว่าถูกต้องแล้ว เพราะกฎหมายกำหนดว่าต้องมีความยินยอมของเด็กด้วยในการที่จะจดทะเบียนรับรองบุตร โดยส่วนใหญ่นั้นจะถือเอาการที่เด็กสามารถเขียนชื่อตัวเองได้เป็นหลักฐานในการให้ความยินยอมให้บิดาจดทะเบียนรับรองบุตรต่อนายทะเบียนได้

กฎหมายกำหนดว่า การที่บิดาจะจดทะเบียนรับรองบุตรให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายนั้น จะต้องได้รับความยินยอมจากมารดาและตัวเด็ก ในกรณีที่เด็กหรือมารดาไม่ให้ความยินยอมหรือไม่สามารถให้ความยินยอมได้ บิดาก็จะต้องใช้สิทธิทางศาล การที่เจ้าหน้าที่ไม่รับจดทะเบียนเด็กที่มีอายุยังน้อย ยังอ่านเขียนหนังสือไม่ได้นั้น ถือว่าถูกต้องแล้ว เพราะกฎหมายกำหนดว่าต้องมีความยินยอมของเด็กด้วยในการที่จะจดทะเบียนรับรองบุตร โดยส่วนใหญ่นั้นจะถือเอาการที่เด็กสามารถเขียนชื่อตัวเองได้เป็นหลักฐานในการให้ความยินยอมให้บิดาจดทะเบียนรับรองบุตรต่อนายทะเบียนได้

Q

ทะเบียนรับบุตรบุญธรรม: เมื่อสมรสใหม่กับชาวเยอรมัน บุตรที่ติดตามมาถือว่าเป็นบุตรบุญธรรมของสามีชาว เยอรมันหรือไม่

ทะเบียนรับบุตรบุญธรรม: เมื่อสมรสใหม่กับชาวเยอรมัน บุตรที่ติดตามมาถือว่าเป็นบุตรบุญธรรมของสามีชาว เยอรมันหรือไม่

A

ไม่ การได้รับเป็นบุตรบุตรธรรมนั้น จะต้องทำการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมตามกฎหมายกของเยอรมันและไทยเสียก่อน บุตรที่เกิดจากคู่สมรสเดิมจึงจะมีสิทธิเสมือนบุตรที่เกิดกับคู่สมรสใหม่ และ คู่สมรสใหม่ก็มีสิทธิปกครองบุตรร่วมกับมารดาด้วยเช่นกัน

ไม่ การได้รับเป็นบุตรบุตรธรรมนั้น จะต้องทำการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมตามกฎหมายกของเยอรมันและไทยเสียก่อน บุตรที่เกิดจากคู่สมรสเดิมจึงจะมีสิทธิเสมือนบุตรที่เกิดกับคู่สมรสใหม่ และ คู่สมรสใหม่ก็มีสิทธิปกครองบุตรร่วมกับมารดาด้วยเช่นกัน

Q

ทะเบียนรับบุตรบุญธรรม: หากได้รับการจดทะเบียนเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมายเยอรมันเรียบร้อยแล้ว ถือว่าเด็กได้เป็นบุตรบุญธรรมโดยสมบูรณ์

ทะเบียนรับบุตรบุญธรรม: หากได้รับการจดทะเบียนเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมายเยอรมันเรียบร้อยแล้ว ถือว่าเด็กได้เป็นบุตรบุญธรรมโดยสมบูรณ์

A

ไม่ หากไม่ได้ทำการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมตามกฎหมายไทย ถือว่ายังไม่สมบูรณ์

ไม่ หากไม่ได้ทำการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมตามกฎหมายไทย ถือว่ายังไม่สมบูรณ์

Q

ทะเบียนรับบุตรบุญธรรม: เมื่อเปลี่ยนนามสกุลให้บุตรที่ติดตามมาเยอรมันเป็นนามสกุลคู่สมรสชาวเยอรมันได้แล้ว แสดงว่า ได้เป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรสแล้ว

ทะเบียนรับบุตรบุญธรรม: เมื่อเปลี่ยนนามสกุลให้บุตรที่ติดตามมาเยอรมันเป็นนามสกุลคู่สมรสชาวเยอรมันได้แล้ว แสดงว่า ได้เป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรสแล้ว

A

ไม่ การได้ใช้ชื่อสกุลของคู่สมรส ไม่ได้หมายความว่า ได้รับการจดทะเบียนเป็นบุตรบุญธรรม อาจจะเป็นการยินยอมให้ใช้นามสกุลเท่านั้น

ไม่ การได้ใช้ชื่อสกุลของคู่สมรส ไม่ได้หมายความว่า ได้รับการจดทะเบียนเป็นบุตรบุญธรรม อาจจะเป็นการยินยอมให้ใช้นามสกุลเท่านั้น

Q

มรณบัตร: การยื่นขอรับมรณบัตร มีกำหนดหรือไม่ ว่าต้องขอภายในเวลาเท่าใด

มรณบัตร: การยื่นขอรับมรณบัตร มีกำหนดหรือไม่ ว่าต้องขอภายในเวลาเท่าใด

A

ไม่มีกำหนด หากมีเอกสารครบถ้วน ท่านสามารถดำเนินการขอรับมรณบัตรย้อนหลังได้ ตลอดโดยไม่มีกำหนด

ไม่มีกำหนด หากมีเอกสารครบถ้วน ท่านสามารถดำเนินการขอรับมรณบัตรย้อนหลังได้ ตลอดโดยไม่มีกำหนด

Q

มรณบัตร: เอกสารที่ระบุสาเหตุการตาย สามารถขอรับได้ที่ใด

มรณบัตร: เอกสารที่ระบุสาเหตุการตาย สามารถขอรับได้ที่ใด

A

บิดามารดา คู่สมรส หรือ ญาติพี่น้องใกล้ชิดสามารถรอรับเอกสารชิ้นนี้ได้จากโรงพยาบาลที่ผู้ตายเข้าทำการรักษา หากผู้ตายเสียชีวิตที่อื่น ต้องทำการขอเอกสารนี้จากหน่วยงานที่ทำการชันสูตรศพ หรือตำรวจต่อไป

บิดามารดา คู่สมรส หรือ ญาติพี่น้องใกล้ชิดสามารถรอรับเอกสารชิ้นนี้ได้จากโรงพยาบาลที่ผู้ตายเข้าทำการรักษา หากผู้ตายเสียชีวิตที่อื่น ต้องทำการขอเอกสารนี้จากหน่วยงานที่ทำการชันสูตรศพ หรือตำรวจต่อไป

Q

สูติบัตร: เมื่อได้รับสูติบัตรไทยแล้ว ถือว่าบุตรได้รับสัญชาติไทยแล้วใช่หรือไม่

สูติบัตร: เมื่อได้รับสูติบัตรไทยแล้ว ถือว่าบุตรได้รับสัญชาติไทยแล้วใช่หรือไม่

A

หากท่านแจ้งเกิดบุตรกับทางสถานกงสุลใหญ่ ฯ หลังเดือนเมษายน 2563 เมื่อแจ้งเกิดแล้ว บุตรจะได้รับสูติบัตรไทย พร้อมเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักทันที และถือว่าได้สัญชาติไทย เป็นคนไทยโดยสมบูรณ์ โดยบุตรจะมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านสำหรับเด็กที่เกิดในต่างประเทศก่อน จากนั้นบิดาหรือมารดา สามารถดำเนินการแจ้งย้ายชื่อปลายทาง เข้าทะเบียนบ้านที่ต้องการได้เลย หากท่านแจ้งเกิดบุตรก่อนหน้านั้น ท่านจะได้รับเพียงสูติบัตรไทย โดยไม่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ท่านจะต้องนำชื่อบุตรไปแจ้งเข้าทะเบียนบ้านเพื่อขอรับเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักต่อไป

หากท่านแจ้งเกิดบุตรกับทางสถานกงสุลใหญ่ ฯ หลังเดือนเมษายน 2563 เมื่อแจ้งเกิดแล้ว บุตรจะได้รับสูติบัตรไทย พร้อมเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักทันที และถือว่าได้สัญชาติไทย เป็นคนไทยโดยสมบูรณ์ โดยบุตรจะมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านสำหรับเด็กที่เกิดในต่างประเทศก่อน จากนั้นบิดาหรือมารดา สามารถดำเนินการแจ้งย้ายชื่อปลายทาง เข้าทะเบียนบ้านที่ต้องการได้เลย หากท่านแจ้งเกิดบุตรก่อนหน้านั้น ท่านจะได้รับเพียงสูติบัตรไทย โดยไม่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ท่านจะต้องนำชื่อบุตรไปแจ้งเข้าทะเบียนบ้านเพื่อขอรับเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักต่อไป

Q

สูติบัตร: การยื่นขอรับสูติบัตร มีกำหนดหรือไม่ ว่าต้องขอภายในอายุเท่าใด

สูติบัตร: การยื่นขอรับสูติบัตร มีกำหนดหรือไม่ ว่าต้องขอภายในอายุเท่าใด

A

ไม่มีกำหนด หากมีเอกสารครบถ้วน ท่านสามารถดำเนินการแจ้งเกิดย้อนหลัง เพื่อขอรับสูติบัตรไทยได้ตลอดโดยไม่มีกำหนดระยะเวลา

ไม่มีกำหนด หากมีเอกสารครบถ้วน ท่านสามารถดำเนินการแจ้งเกิดย้อนหลัง เพื่อขอรับสูติบัตรไทยได้ตลอดโดยไม่มีกำหนดระยะเวลา