หนังสือมอบอำนาจ และ หนังสือให้ความยินยอม
ข้อมูลทั่วไป
บุคคลสัญชาติไทยที่อาศัยและทำงานอยู่ในเยอรมนี ที่ไม่สามารถเดินทางกลับประเทศไทย เพื่อไปดำเนินเรื่องต่อทางราชการในประเทศไทยด้วยตนเองได้ (อาทิเช่น ต้องการขอหนังสือรับรองสถานภาพสมรส หรือ แจ้งบันทึกฐานะทางครอบครัวหลังการสมรส/ หลังการหย่า เพื่อขอเปลี่ยนนามสกุลในทะเบียนบ้าน หรือ แจ้งชื่อบุตรเข้าทะเบียนบ้านไทย หรือ ทำหนังสือให้ความยินยอมให้บุตรทำหนังสือเดินทางไทย) สามารถยื่นคำร้องขอทำหนังสือให้ความยินยอม หรือ หนังสือมอบอำนาจให้ผู้อื่นที่บรรลุนิติภาวะแล้ว เช่น ญาติพี่น้องหรือเพื่อนที่อยู่ในประเทศไทยไปดำเนินการแทนได้
ขั้นตอนการดำเนินการ
- ยื่นคำร้องและเอกสารประกอบเพื่อตรวจสอบเบื้องต้น
- 1.1 ยื่นทางไปรษณีย์ :ส่งเอกสารตามรายการด้านล่าง มาทางไปรษณีย์ถึงสถานกงสุลใหญ่ ณ นครมิวนิก ตามที่อยู่นี้
- Königlich Thailändisches Generalkonsulat - Legalisierungsabteilung/ แผนกนิติกรณ์
Törringstr. 20, 81675 München
(โปรดระบุหมายเลขโทรศัพท์ของท่านเพื่อติดต่อกลับ)
- 1.2 ยื่นเอกสารทาง E-mail : ส่งเอกสารตามรายการด้านล่าง มาทาง E-mail : [email protected]
หมายเหตุ
- การส่งสำเนาเอกสารมาให้สถานกงสุลใหญ่ฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อการตรวจ สอบเอกสารเบื้องต้นเท่านั้น
- ขอความกรุณางดส่งเอกสารตัวจริงมาในซอง และ โปรดงดการแนบค่าธรรมเนียมมาในซองที่ส่งไปรษณีย์
- สถานกงสุลใหญ่ฯขอสงวนสิทธิ์ ไม่รับผิดชอบในการสูญหายที่เกิดระหว่างการส่งไปรษณีย์ มายังสถานกงสุลใหญ่ฯ
- หากไม่ได้ส่งเอกสารให้ตรวจสอบล่วงหน้า สถานกงสุลใหญ่ฯ ขอสงวนสิทธิ์ งดให้บริการ โดนเฉพาะอย่างยิ่ง ในกรณีที่เอกสารไม่ถูกต้อง/เอกสารไม่ครบ/มีการยื่นคำร้องจำนวนหลายนิติกรณ์ จนไม่อาจจะทำให้บริการเสร็จสิ้นในเวลาที่จองมา
- ในกรณีที่สถานกงสุลใหญ่ฯ ไม่มีตัวอย่างลายมือชื่อของเจ้าหน้าที่ทางการฝ่ายเยอรมัน สถานกงสุลใหญ่ฯอาจไม่สามารถทำการรับรองเอกสารให้กับผู้ร้องได้เช่นกัน
|
-
รายการเอกสารที่ต้องส่งมาตรวจสอบ ได้แก่
- (1) แบบฟอร์มคำร้องขอหนังสือมอบอำนาจ/หนังสือให้ความยินยอม (ดาวน์โหลด)
- (2) สำเนาใบแสดงถิ่นที่อยู่ในเยอรมนี (Meldebestätigung) ของผู้ยื่นคำร้อง
- (3) เอกสารหลัก (เฉพาะสำเนา) ได้แก่
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ของผู้มอบอำนาจ
- สำเนาหนังสือเดินทาง ของผู้มอบอำนาจ
- สำเนาทะเบียนบ้านไทย ของผู้มอบอำนาจ
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ของผู้รับมอบอำนาจ/ ตัวแทน
- สำเนาทะเบียนบ้าน ของผู้รับมอบอำนาจ/ ตัวแทน
- * เจ้าหน้าที่สามารถเรียกเอกสารอื่นๆ เพิ่มเติมได้แล้วแต่กรณี เช่น ใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล เป็นต้น
-
- ตรวจสอบเอกสาร และนัดหมายเพื่อรับเอกสารคืนที่สถานกงสุลใหญ่ฯ : เมื่อเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบเอกสารว่าครบถ้วนแล้ว จะโทรศัพท์นัดหมายให้ผู้ยื่นคำร้องหรือส่งลิ้งให้ผู้ร้องจองนัดหมายออนไลน์ เพื่อเดินทางมาที่สถานกงสุลใหญ่ฯ และ ลงนามในหนังสือมอบอำนาจ/หนังสือให้ความยินยอม ชำระค่าธรรมเนียม และรับเอกสารคืนในคราวเดียวกันต่อไป
ค่าธรรมเนียม
15 ยูโร ต่อ 1 ตราประทับรับรองนิติกรณ์/รายการ (รับชำระเป็นเงินสดเท่านั้น)
หนังสือมอบอำนาจ และหนังสือให้ความยินยอม ที่มีผู้ยื่นคำร้องอยู่เป็นประจำ
- หนังสือให้ความยินยอมและมอบอำนาจ เพื่อให้บุตรทำหนังสือเดินทางไทยและเดินทางไปต่างประเทศ
เอกสารประกอบเพิ่มเติมที่ต้องใช้กับเอกสารหลักตามรายการข้างต้น คือ
- สำเนาหนังสือรับรองอำนาจปกครองบุตร (ป.ค. 14)
- สำเนาสูติบัตรไทยของบุตร
- สำเนาทะเบียนบ้านไทยของบุตร
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนไทยของบุตร (หากมี)
- สำเนาหนังสือเดินทางไทยฉบับเดิมของบุตร (หากมี)
- หนังสือมอบอำนาจ เพื่อขอออกหนังสือรับรองอำนาจปกครองบุตร (ป.ค. 14)
เอกสารประกอบเพิ่มเติมที่ต้องใช้กับเอกสารหลักตามรายการข้างต้น คือ
- สำเนาสูติบัตรไทยของบุตร
- สำเนาทะเบียนบ้านของบุตร
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนไทยของบุตร (หากมี)
- หนังสือมอบอำนาจ เพื่อแจ้งบันทึกฐานะทางครอบครัวหลังการสมรส (แจ้งแต่งงาน)
เอกสารประกอบเพิ่มเติมที่ต้องใช้กับเอกสารหลักตามรายการข้างต้น คือ
- หากแต่งงานตามกฎหมายเยอรมันทะเบียนสมรสเยอรมันและคำแปล ที่ได้รับการรับรองจากสถานเอกอัครราชทูตไทย หรือสถานกงสุลใหญ่ไทย แล้ว (ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ “การรับรองเอกสารราชการเยอรมันพร้อมคำแปล")
- หากแต่งงานตามกฎหมายไทย ทะเบียนสมรสไทย ออกโดยสถานเอกอัครราชทูตไทย หรือสถานกงสุลใหญ่ไทย
- หนังสือมอบอำนาจ เพื่อแจ้งบันทึกฐานะทางครอบครัวหลังการหย่า (แจ้งหย่า)
เอกสารประกอบเพิ่มเติมที่ต้องใช้กับเอกสารหลักตามรายงานข้างต้น คือ
- หากหย่าตามกฎหมายเยอรมันคำพิพากษาหย่าเยอรมันและคำแปล ที่ได้รับการรับรองจากสถานเอกอัครราชทูตไทย หรือสถานกงสุลใหญ่ไทย แล้ว (ดูรายละเอียดได้ที่ “การรับรองเอกสารราชการเยอรมันพร้อมคำแปล”)
- หากหย่าตามกฎหมายไทย ทะเบียนหย่าไทย ออกโดยสถานเอกอัครราชทูตไทย หรือสถานกงสุลใหญ่ไทย
-
หนังสือมอบอำนาจ เพื่อขอออกหนังสือรับรองสถานภาพสมรส (รับรองโสดจากอำเภอ ในประเทศไทย) เพื่อประกอบการสมรสในต่างประเทศ
-
หนังสือมอบอำนาจ เพื่อขอหนังสือรับรองสถานภาพการสมรส (คำร้องเกี่ยวกับทะเบียนครอบครัว) จากสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เพื่อประกอบการสมรสในต่างประเทศ
-
หนังสือมอบอำนาจ เพื่อขอคัดสำเนาสูติบัตร หรือขอออกหนังสือรับรองการเกิด
-
หนังสือมอบอำนาจ เพื่อขอคัดสำเนาทะเบียนบ้าน หรือขอแบบรายการทะเบียนราษฎร
-
หนังสือมอบอำนาจ เพื่อเพิ่มชื่อบุตรที่เกิดในต่างประเทศเข้าทะเบียนบ้านไทย
- หนังสือมอบอำนาจ เพื่อดำเนินธุรกรรมที่ดิน (ต้องมีแบบฟอร์มหนังสือมอบอำนาจของสำนักงานที่ดิน)
เอกสารประกอบเพิ่มเติมที่ต้องใช้กับเอกสารหลักตามรายการข้างต้น คือ
- โฉนดที่ดิน หรือ นส.3 เป็นต้น