บริการประชาชน

บริการประชาชน

คำถามที่พบบ่อย

Q

แต่งงานตามกฎหมายเยอรมันแล้ว และอยากเปลี่ยนนามสกุลตามสามีในพาสปอร์ตไทยต้องทำอย่างไร

แต่งงานตามกฎหมายเยอรมันแล้ว และอยากเปลี่ยนนามสกุลตามสามีในพาสปอร์ตไทยต้องทำอย่างไร

A

การเปลี่ยนนามสกุลที่สมบูรณ์ตามกฎหมายไทย ท่านต้องไปเปลี่ยนในทะเบียนบ้านไทยเท่านั้น และหากไม่สามารถไปดำเนินการได้ด้วยตนเอง ก็สามารถยื่นคำร้องขอทำหนังสือมอบอำนาจให้ญาติหรือตัวแทนที่ประเทศไทยไปดำเนินการ โดยนำใบสมรสเยอรมันไปทำการรับรองโดยหน่วยงานเยอรมัน และนำไปแปลเป็นภาษาไทย และต้องทำหนังสือยินยอมการใช้สกุลของคู่สมรส และหนังสือมอบอำนาจ เพื่อนำไปยื่นขอรับรองเอกสารการสมรสเยอรมันอีกชั้นหนึ่งที่กองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ ก่อนที่จะนำเอกสารดังกล่าวไปดำเนินการขอบันทึกการสมรสที่อำเภอตามที่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย เมื่อดำเนินการเรียบร้อยแล้วจะได้รับบันทึกฐานะแห่งครอบครัว (คร.22) และหนังสือรับรองเปลี่ยนคำนำหน้านาม (หากต้องการเปลี่ยน) และหนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อสกุล (ช.5) จากนั้น ท่านสามารถนำเอกสารดังกล่าวมายื่นขอทำบัตรประชาชน และหนังสือเดินทางใหม่ได้ที่สถานกงสุลใหญ่ฯ

การเปลี่ยนนามสกุลที่สมบูรณ์ตามกฎหมายไทย ท่านต้องไปเปลี่ยนในทะเบียนบ้านไทยเท่านั้น และหากไม่สามารถไปดำเนินการได้ด้วยตนเอง ก็สามารถยื่นคำร้องขอทำหนังสือมอบอำนาจให้ญาติหรือตัวแทนที่ประเทศไทยไปดำเนินการ โดยนำใบสมรสเยอรมันไปทำการรับรองโดยหน่วยงานเยอรมัน และนำไปแปลเป็นภาษาไทย และต้องทำหนังสือยินยอมการใช้สกุลของคู่สมรส และหนังสือมอบอำนาจ เพื่อนำไปยื่นขอรับรองเอกสารการสมรสเยอรมันอีกชั้นหนึ่งที่กองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ ก่อนที่จะนำเอกสารดังกล่าวไปดำเนินการขอบันทึกการสมรสที่อำเภอตามที่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย เมื่อดำเนินการเรียบร้อยแล้วจะได้รับบันทึกฐานะแห่งครอบครัว (คร.22) และหนังสือรับรองเปลี่ยนคำนำหน้านาม (หากต้องการเปลี่ยน) และหนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อสกุล (ช.5) จากนั้น ท่านสามารถนำเอกสารดังกล่าวมายื่นขอทำบัตรประชาชน และหนังสือเดินทางใหม่ได้ที่สถานกงสุลใหญ่ฯ

Q

ลูกชายย้ายมาจากเมืองไทยตั้งแต่ 8 ขวบ และตอนนี้อายุ 21 ปี และพูดไทยไม่ค่อยได้ จบการศึกษาและทำงานอยู่ในเยอรมนี จะขอผ่อนผันการเกณฑ์ทหารได้หรือไม่

ลูกชายย้ายมาจากเมืองไทยตั้งแต่ 8 ขวบ และตอนนี้อายุ 21 ปี และพูดไทยไม่ค่อยได้ จบการศึกษาและทำงานอยู่ในเยอรมนี จะขอผ่อนผันการเกณฑ์ทหารได้หรือไม่

A

หากชายที่มีสัญชาติไทยเป็นผู้มีร่างกายสมบูรณ์ ต้องการขอผ่อนผันการเกณฑ์ทหาร สามารถขอผ่อนผันด้วยเหตุผลว่ากำลังศึกษาอยู่ในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี หากเป็นเหตุผลอื่นๆ ควรติดต่อสอบถามไปที่สัสดีอำเภอที่ท่านมีภูมิลำเนาทหารอยู่

หากชายที่มีสัญชาติไทยเป็นผู้มีร่างกายสมบูรณ์ ต้องการขอผ่อนผันการเกณฑ์ทหาร สามารถขอผ่อนผันด้วยเหตุผลว่ากำลังศึกษาอยู่ในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี หากเป็นเหตุผลอื่นๆ ควรติดต่อสอบถามไปที่สัสดีอำเภอที่ท่านมีภูมิลำเนาทหารอยู่

Q

เด็กซึ่งถือสองสัญชาติเนื่องจากมารดาสมรสกับชาวเยอรมัน และอาศัยอยู่ในเยอรมนีจะต้องต้องเกณฑ์ทหาร หรือไม่

เด็กซึ่งถือสองสัญชาติเนื่องจากมารดาสมรสกับชาวเยอรมัน และอาศัยอยู่ในเยอรมนีจะต้องต้องเกณฑ์ทหาร หรือไม่

A

ชายที่มีสัญชาติไทย ต้องเข้ารับการเกณฑ์ทหาร โดยเมื่ออายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ (ย่างเข้า18 ปี) จะต้องไปแสดงตน เพื่อไปขึ้นบัญชีทหารกองเกินภายในปี พ.ศ. นั้น และเมื่อมีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ (ย่างเข้า 21 ปี) ใน พ.ศ. นั้น ต้องไปแสดงตนรับหมายเรียกเข้ารับการเกณฑ์ทหาร ทั้งนี้ หากกำลังศึกษาอยู่ในต่างประเทศ สามารถทำเรื่องขอผ่อนผันการเกณฑ์ทหารได้ โดยยื่นคำร้อง และเอกสารรับรองจากสถาบันการศึกษาที่ตนกำลังศึกษาอยู่ในเยอรมนี เพื่อให้สถานกงสุลใหญ่ฯ ออกหนังสือผ่อนผันเข้ารับการเกณฑ์ทหาร

ชายที่มีสัญชาติไทย ต้องเข้ารับการเกณฑ์ทหาร โดยเมื่ออายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ (ย่างเข้า18 ปี) จะต้องไปแสดงตน เพื่อไปขึ้นบัญชีทหารกองเกินภายในปี พ.ศ. นั้น และเมื่อมีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ (ย่างเข้า 21 ปี) ใน พ.ศ. นั้น ต้องไปแสดงตนรับหมายเรียกเข้ารับการเกณฑ์ทหาร ทั้งนี้ หากกำลังศึกษาอยู่ในต่างประเทศ สามารถทำเรื่องขอผ่อนผันการเกณฑ์ทหารได้ โดยยื่นคำร้อง และเอกสารรับรองจากสถาบันการศึกษาที่ตนกำลังศึกษาอยู่ในเยอรมนี เพื่อให้สถานกงสุลใหญ่ฯ ออกหนังสือผ่อนผันเข้ารับการเกณฑ์ทหาร

Q

หากจะซื้อที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย แล้วทางกรมที่ดินแจ้งว่าให้สามีชาวต่างชาติมาเซ็นต์เอกสารยินยอมทรัพย์สินส่วนตัวที่สถานทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง

หากจะซื้อที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย แล้วทางกรมที่ดินแจ้งว่าให้สามีชาวต่างชาติมาเซ็นต์เอกสารยินยอมทรัพย์สินส่วนตัวที่สถานทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง

A

กรณีนี้ทั้งสามีต่างชาติและภรรยาไทยจะต้องมาแสดงตน และลงนามในหนังสือยินยอม (ตามแบบฟอร์มที่กรมที่ดินกำหนด) ด้วยตนเองที่สถานกงสุลใหญ่ฯ ณ นครมิวนิก โดยจัดเตรียมเอกสารประกอบคำร้อง ได้แก่ หนังสือเดินทางที่ยังมีอายุการใช้งานของทั้งสามีและภรรยา สำเนาทะเบียนบ้านไทย สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนไทย บันทึกฐานะแห่งครอบครัว (ค.ร.22) และ สำเนาโฉนดที่ดิน

กรณีนี้ทั้งสามีต่างชาติและภรรยาไทยจะต้องมาแสดงตน และลงนามในหนังสือยินยอม (ตามแบบฟอร์มที่กรมที่ดินกำหนด) ด้วยตนเองที่สถานกงสุลใหญ่ฯ ณ นครมิวนิก โดยจัดเตรียมเอกสารประกอบคำร้อง ได้แก่ หนังสือเดินทางที่ยังมีอายุการใช้งานของทั้งสามีและภรรยา สำเนาทะเบียนบ้านไทย สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนไทย บันทึกฐานะแห่งครอบครัว (ค.ร.22) และ สำเนาโฉนดที่ดิน

Q

พ่อหรือแม่ที่อาศัยอยู่ในเยอรมนี ต้องการทำหนังสือเดินทางให้ลูกที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย แต่พ่อ/แม่ไม่สามารถเดินทางกลับไทยได้ ต้องทำอย่างไร

พ่อหรือแม่ที่อาศัยอยู่ในเยอรมนี ต้องการทำหนังสือเดินทางให้ลูกที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย แต่พ่อ/แม่ไม่สามารถเดินทางกลับไทยได้ ต้องทำอย่างไร

A

บิดาหรือมารดา สามารถยื่นคำร้องต่อสถานกงสุลใหญ่ ณ นครมิวนิก เพื่อขอทำหนังสือให้ความยินยอมและมอบอำนาจให้ญาติ หรือตัวแทนที่บรรลุนิติภาวะแล้ว พาบุตรไปดำเนินการแทนได้ โดยสามารถติดต่อแผนกนิติกรณ์

บิดาหรือมารดา สามารถยื่นคำร้องต่อสถานกงสุลใหญ่ ณ นครมิวนิก เพื่อขอทำหนังสือให้ความยินยอมและมอบอำนาจให้ญาติ หรือตัวแทนที่บรรลุนิติภาวะแล้ว พาบุตรไปดำเนินการแทนได้ โดยสามารถติดต่อแผนกนิติกรณ์