บริการประชาชน

บริการประชาชน

วันที่นำเข้าข้อมูล 15 ก.พ. 2564

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 1,960 view

จดทะเบียนสมรส

 

สถานกงสุลใหญ่ ณ นครมิวนิก รับจดทะเบียนสมรสระหว่างบุคคลสัญชาติไทยกับสัญชาติไทย หรือระหว่างบุคคลสัญชาติไทยกับสัญชาติอื่น ๆ เท่านั้น ไม่รับจดทะเบียนสมรสระหว่างบุคคลสัญชาติไทยกับบุคคลสัญชาติเยอรมัน

ขั้นตอนการจดทะเบียนสมรส

ขั้นตอนทะเบียนราษฎร์


เอกสารที่ต้องนำมายื่น

  • คำร้องขอจดทะเบียนสมรส (ดาวน์โหลด)
  • หนังสือรับรองความเป็นโสดตัวจริงจากสำนักงานเขต หรือ ที่ว่าการอำเภอ โดยหนังสือรับรองความเป็นโสดนี้ต้องมีอายุไม่เกิน 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ออก
    • ในกรณีเคยแต่งงานและหย่ามาก่อนต้องมีหนังสือรับรองความเป็นโสดหลังหย่าตัวจริง พร้อมสำเนา 1 ชุด และต้องยื่นสำเนาใบสำคัญการหย่าหรือคำพิพากษาหย่าด้วย
    • ในกรณีคู่สมรสเสียชีวิตต้องมีหนังสือรับรองความเป็นโสดว่าหลังคู่สมรสเสียชีวิตแล้วไม่ได้แต่งงานอีกตัวจริง พร้อมสำเนา 1 ชุด และต้องยื่นสำเนามรณบัตรด้วย
  • หนังสือเดินทางตัวจริง พร้อมสำเนา คนละ 1 ชุด
  • บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง พร้อมสำเนา คนละ  1 ชุด
  • สำเนาทะเบียนบ้านไทย คนละ 1 ชุด
  • สำเนาใบแสดงถิ่นที่อยู่ในเยอรมนี (Meldebestätigung) คนละ 1 ชุด
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของพยาน 2 คน คนละ 1 ชุด
  • เอกสารที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ แล้วแต่กรณี เช่น ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล เป็นต้น
  • หากคู่สมรสของท่านเป็นบุคคลสัญชาติอื่น คู่สมรสของท่านต้องนำหนังสือรับรองความเป็นโสดจากประเทศของตน ไปทำการรับรองเอกสารจากหน่วยงานที่มีอำนาจในประเทศนั้นๆ เสียก่อน แล้วจึงทำการแปลเป็นภาษาไทย จากนั้น จึงนำไปให้สถานเอกอัครราชทูตไทย หรือสถานกงสุลใหญ่ไทย ในประเทศนั้นๆ รับรองเอกสารและคำแปล ก่อนที่จะนำมาใช้เป็นเอกสารประกอบการสมรสที่สถานกงสุลใหญ่ ณ นครมิวนิก

ค่าธรรมเนียม ไม่เสียค่าธรรมเนียม (ท่านจะได้รับใบสำคัญการสมรสคนละ 1 ชุด)

ผู้ร้องจะได้รับใบสำคัญการสมรสฉบับจริงจากสถานกงสุลใหญ่ฯ คนละ 1 ชุด และหากต้องการสำเนาทะเบียนสมรส สถานกงสุลใหญ่ฯ จะทำการรับรองสำเนาถูกต้องของทะเบียนสมรสให้ โดยมีค่าธรรมเนียม 15 ยูโร / ฉบับ (สถานกงสุลใหญ่ฯ แนะนำให้ทำรับรองสำเนาถูกต้องของทะเบียนสมรสอย่างน้อย 1 ฉบับ )

 

การจดทะเบียนใช้ชีวิตสมรสของบุคคลเพศเดียวกันตามกฎหมายเยอรมัน

สถานกงสุลใหญ่ฯ ขอแจ้งให้ทราบว่า กฎหมายไทยไม่ยอมรับการจดทะเบียนใช้ชีวิตสมรสของบุคคลเพศเดียวกันตามกฎหมายเยอรมัน (Lebenspartnerschaft) แต่อย่างใด

บุคคลสัญชาติไทยที่ได้จดทะเบียนใช้ชีวิตสมรสของบุคคลเพศเดียวกันจึงไม่สามารถแจ้งการจดทะเบียนดังกล่าวต่อหน่วยงานราชการไทยได้ เช่น ไม่สามารถมายื่นคำร้องขอเปลี่ยนนามสกุลตามคู่สมรสที่เป็นบุคคลเพศเดียวกันได้ สถานกงสุลฯ จึงขอแนะนำให้ท่านที่วางแผนจะจดทะเบียนใช้ชีวิตสมรสกับบุคคลเพศเดียวกันตามกฎหมายเยอรมันเลือกใช้นามสกุลเดิมของตนเป็น “นามสกุลหลังการจดทะเบียนใช้ชีวิตสมรสของบุคคลเพศเดียวกัน” เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาในการเปลี่ยนนามสกุล